วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ภาพกิจกรรม


เปิดเวทีพื้นที่บ้านส่อง
ประตูชัย ณ สปป.ลาว




ศูนย์การศึกษาพิเศษ จ.ยโสธร



กลุ่มลงพื้นที่บ้านดอนนา

ลงพื้นที่บ้านส่อง

วันสถาปนา

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อนาคตของวัยชรา

การประกันสังคมคือ  โครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล  มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความมั่นคงหรือหลักประกันให้แก่ประชาชน โดยมีวิธีการจัดเก็บรายได้ส่วนหนึ่งจากประชาชนที่มีรายได้   เงินที่เก็บนี้นำมาสมทบรวมกันเป็นกองทุนกลาง      นำมาใช้จ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่ประชาชนตามเงื่อนไขที่กำหนดเงินที่เรียกเก็บ นี้หากเป็นกรณีเก็บจากผู้ที่ทำงานรับจ้าง ก็อาจให้นายจ้างจ่ายสมทบส่วนหนึ่ง และในบางกรณีรัฐบาลจะจ่ายสมทบด้วย
ประเทศไทยมีกฎหมายประกันสังคมฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ กฎหมายฉบับนี้ผ่านรัฐสภาพร้อมจะประกาศใช้  แต่ประสบปัญหาในเรื่องนโยบายทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ได้จน กระทั่งบัดนี้  กฎหมายนี้ถูกร่างเสนอ และสนับสนุนโดยกรมประชาสงเคราะห์ มีเนื้อหาให้ความคุ้มครองบุคคล ๒ ประเภท คือ ผู้ประกอบอาชีพรับจ้าง และประชาชนทั่วไปที่สมัครใจประกันตนเอง  บุคคลทั้งสองประเภทนี้กฎหมายได้ให้รายละเอียดไว้กว้างๆ ได้แก่  บุคคลซึ่งรับจ้างทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างเป็นการประจำ และได้รับค่าจ้างเป็นเงิน ตั้งแต่ ๕๐๐ บาทขึ้นไปต่อหนึ่งเดือนหรือผู้ทำงานส่วนตัว  ผู้ไม่ได้ทำงาน  หรือแม้แต่ผู้ไม่ได้อยู่ในข่ายบังคับก็สามารถสมัครเข้าประกันตนเองตามกฎหมาย ฉบับนี้ได้  แต่ทั้งนี้ผู้เอาประกันต้องมีสุขภาพตามที่แพทย์ได้ตรวจรับรองว่าสมควรเข้า ประกันตนได้ ส่วนประโยชน์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับ   ประกอบด้วยเงินหรือสิ่งของหรือบริการอื่นๆ โดยจัดแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ คือ การประกันในด้านการคลอดบุตร การสงเคราะห์บุตร การเจ็บป่วยพิการหรือทุพพลภาพชราภาพ และการฌาปนกิจ
 
 การประกันสังคมของคนวัยชรา
ผู้สูงอายุ เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ จากสังคมไทยมาก ทั้งนี้เพราะการให้ความเคารพ และให้เกียรติ์ผู้มีอาวุโส และความกตัญญูรู้คุณ เป็นคุณค่าที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งดีงาม และมีการปลูกฝังมาอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย นอกเหนือจากนั้นแล้ว  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ผู้สูงอายุได้ทวีความสำคัญ และได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น จนถึงกับมีการกำหนดเป็นแผนระดับประเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ และได้ยกตัวอย่างสถานประกอบการจังหวัดกรุงเทพมหานคร 
ตัวอย่างเช่น  กราฟการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการภายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร(ระหว่าง ปี พ.. 2550 – 2552)
                                                        
            จากกราฟการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการภายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ระหว่าง  พ.. 2550 2552   พบว่า ในปี พ.. 2550   มีการจัดตั้งสถานประกอบการประกันสังคมมากที่สุดและในปี พ.. 2551 มีการลดลงของสถานประกอบการประกันสังคมน้อยที่สุด ในระยะเวลา 3 ปี  แต่พอถึง ปี 2552 มีการจัดตั้งสถานประกอบการในกรุงเทพมหานคร เพิ่มมาเรื่อยๆ จนเกือบถึงจำนวนสถานประกอบการประกันสังคม ในปี 2550
           ประเด็นในการจัดทำระบบประกันสังคม       
          ในประเทศไทยกองทุนเงินทดแทน นับเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน  ทั้งนี้กองทุนเงินทดแทน เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน    ประเทศไทยจึงมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบโดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน ทั้งนี้ได้มีการเปรียบเทียบกราฟจากทั่วประเทศ
ตัวอย่างเช่น  กราฟการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการทั่งราชอาณาจักร (ระหว่าง ปี พ.. 2550 –2552)

                    จากกราฟการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการทั่วราชอาณาจักร ในปี พ.. 2550 – 2552พบว่า  ปีที่มีการจัดตั้งสถานประกอบการน้อยที่สุด  คือ ปี พ.. 2550 และได้มีการจัดตั้งสถานประกอบการขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึง ปี 2552 ที่มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุด ในระยะเวลา 3 ปี
 ความสะดวกสบายในการจัดการระบบประกันสังคม   
พัฒนาการให้บริการประกันสังคมขององค์กรให้มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง และเป็นธรรมยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็น   องค์ประกอบสำคัญหนึ่งในวิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักงานประกันสังคมโดยมี ความประสงค์ให้ผู้ใช้บริการประกันสังคมทุกฝ่ายอันได้แก่สถานประกอบการ นายจ้าง  และประชาชนได้รับความพึงพอใจและประทับใจในงานบริการประกันสังคม ตลอดจนจูงใจให้แรงงานในระบบขึ้นทะเบียน เป็นผู้ประกันตนครบถ้วนและได้รับการคุ้มครองประกันสังคมตามกฎหมาย ทั้งยังหมายรวมไปถึงการให้บริการด้านความรู้ ความเข้าใจต่อการประกันสังคมของประเทศ อันจะนำไปสู่การรับรู้ และสะท้อนภาพลักษณ์ขององค์กรประกันสังคม แก่สาธารณชนได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม  ทั้งนี้ได้มีการเปรียบเทียบกราฟจากจังหวัดที่มีสถานประกอบการมากที่สุด
ตัวอย่างเช่น  กราฟการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการระหว่าง ชลบุรี เชียงใหม่(ระหว่าง ปี 2550 – 2552)
 
           จากกราฟการเปรียบเทียบจำนวนสถานประกอบการระหว่าง  ชลบุรี เชียงใหม่ ในปี พ.. 2550 – 2552   พบว่า ปีที่มีการจัดตั้งสถานประกอบการระหว่าง ชลบุรี เชียงใหม่มีจำนวนน้อยเท่ากัน  ในปี พ.. 2550 และปีที่มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุด ระหว่างชลบุรี เชียงใหม่ คือ ปี พ..2552
            บทสรุป
         การประกันสังคมสร้างความพึงพอใจและความประทับใจในงานบริการประกันสังคมให้แก่ผู้ใช้บริการ ประกันสังคมทุกฝ่าย  สร้างความรู้ความเข้าใจ ของการประกันสังคม แก่สาธารณชน ควบคู่ไปกับการสร้างความน่าเชื่อถือ และภาพลักษณ์ขององค์กรที่ดี และเป็นที่ยอมรับของสังคม  จากตารางจะเห็นได้ว่า ปี พ..2552 มีการเพิ่มจำนวนสถานประกอบการอยู่เรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน และมีการให้บริการประกันสังคมขององค์กร มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง  
               ข้อเสนอแนะ
-   มีการจัดตั้งจำนวนสถานประกอบการประกันสังคมให้มีจำนวนมากขึ้น เพื่อจะเป็นการสะดวกต่อประชาชน เพราะในปัจจุบันนี้ ประชากรส่วนมากจะอยู่ในวัยชรา เลยต้องมีจำนวนสถานประกอบการประกันสังคมให้มากขึ้น
 มีการเข้าถึงประชาชนให้ความรู้เรื่องประกันสังคมกับประชาชนที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับการประกันสังคม
 มีการผลักดันความรู้ของประกันสังคมให้บรรจุเป็นความรู้พื้นฐานของคนไทยทุกคน
  มีการพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ทักษะ และขวัญกำลังใจพร้อมปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง

นางสาวกีรติยา   จันทร์สิงห์      กลุ่มเรียนที่ 2
รหัสนิสิต  52010119132        ระบบปกติ





วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทรัพย์เขาหรือทรัพย์เรา


คดีอาญา คือ เมื่อเกิดการกระทำความผิด มีการ แจ้งความ ร้องทุกข์กล่าวโทษให้เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำการ  สืบสวน จับกุม ผู้กระทำความผิดมาควบคุมตัว
ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด
โทษทางอาญา มี 5 ชนิด  คือ 1. ประหารชีวิต 2. จำคุก   3. กักขัง  4. ปรับ   5. ริบทรัพย์สิน
ในกลุ่มของคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์มีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทำให้ผู้เสียหายได้มีการเข้าไปแจ้งความไว้และมีการจับกุมได้ไม่ถึงจำนวนที่รับแจ้งไว้ทั้งหมด 
สถิติการรับแจ้งและจับกุมกลุ่มคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ จำแนกตามประเภทคดีที่รับแจ้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2547 - 2552
ประเภทคดี
2547
2548
2549
2550
2551
2552

(2004)
(2005)
(2006)
(2007)
(2008)
(2009)
                                                                  


รับแจ้ง





รวม
9,212
8,690
9,656
9,047
7,357
6,094
ลักทรัพย์
7,153
6,727
7,652
7,330
5,868
4,820
วิ่งราวทรัพย์
324
325
346
249
267
222
รีดเอาทรัพย์
0
3
2
1
2
0
กรรโชกทรัพย์
30
38
45
26
36
21
ชิงทรัพย์ (รวม)
173
187
184
159
151
81
บาดเจ็บ
54
67
70
49
63
29
ไม่บาดเจ็บ
119
120
114
110
88
52
ปล้นทรัพย์
87
68
86
72
39
36
รับของโจร
41
31
29
49
33
20
ทำให้เสียทรัพย์
1,404
1,311
1,312
1,156
961
894





จับ 





รวม
4,707
4,756
5,543
5,931
5,426
4,581
ลักทรัพย์
3,556
3,580
4,254
4,708
4,323
3,568
วิ่งราวทรัพย์
210
237
247
193
229
184
รีดเอาทรัพย์
0
1
2
1
1
0
กรรโชกทรัพย์
22
19
35
16
31
17
ชิงทรัพย์ (รวม)
110
119
113
120
108
68
บาดเจ็บ
31
45
42
35
43
23
ไม่บาดเจ็บ
79
74
71
85
65
45
ปล้นทรัพย์
71
56
76
64
33
29
รับของโจร
35
28
23
42
31
19
ทำให้เสียทรัพย์
703
716
793
784
670
696
 





 

























คดีอาญาประเภทเกี่ยวกับทรัพย์
ความผิดฐานลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์
     มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวม อยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกพันบาท
     มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์
(1) ในเวลากลางคืน
(2) ในที่หรือบริเวณที่มีเหตุเพลิงไหม้ การระเบิด อุทกภัย หรือ ในที่หรือบริเวณที่มีอุบัติเหตุ เหตุทุกขภัยแก่รถไฟ หรือยานพาหนะ อื่นที่ประชาชนโดยสาร หรือภัยพิบัติอื่นทำนองเดียวกันหรืออาศัย โอกาสที่มีเหตุเช่นว่านั้น หรืออาศัยโอกาสที่ประชาชนกำลังตื่นกลัว ภยันตรายใด ๆ
(3) โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือทรัพย์หรือโดยผ่านสิ่งเช่นว่านั้นเข้าไปด้วยประการใด
(4) โดยเข้าทางช่องทางซึ่งได้ทำขึ้นโดยไม่ได้จำนงให้เป็นทางคนเข้าหรือเข้าทางช่องทางซึ่งผู้เป็นใจเปิดไว้ให้
(5) โดยแปลงตัวหรือปลอมตัวเป็นผู้อื่น มอมหน้าหรือทำด้วย ประการอื่นเพื่อไม่ให้เห็นหรือจำหน้าได้
(6) โดยลวงว่าเป็นเจ้าพนักงาน
(7) โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สอง คนขึ้นไป
     ความผิดฐานกรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์  
ถ้าความผิดฐานกรรโชกได้กระทำโดย
(1) ขู่ว่าจะฆ่า ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น ให้ได้รับอันตรายสาหัส หรือขู่ว่าจะทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของ ผู้ถูกข่มขืนใจหรือผู้อื่น หรือ
(2) มีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับ ตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
      มาตรา 338 ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่น ได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยการขู่เข็ญว่าจะเปิดเผย ความลับซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหาย จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงสองหมื่นบาท
มาตรา 339 ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่า ในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(2) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(3) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(4) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(5) ให้พ้นจากการจับกุม
     ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองหมื่นบาท   ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ ในอนุ มาตรา หนึ่งอนุมาตรา แห่ง มาตรา 335 หรือเป็นการกระทำต่อ ทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ เครื่องกลหรือเครื่องจักร ที่ผู้มีอาชีพกสิกรรม มีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สิบปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท
             ความผิดฐานรับของโจร
    มาตรา 357 ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระ ทำความผิดถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีด เอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกหรือ เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจรต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไร หรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม มาตรา 335 (10) ชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท
     ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์ อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตาม มาตรา 335ทวิ การชิงทรัพย์ตาม มาตรา 339ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตาม มาตรา 340ทวิ ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่น บาทถึงสามหมื่นบาท
หมายเหตุ มาตรา 357 วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมปอ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2512
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
       มาตรา 358 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
      มาตรา 359 ถ้าการกระทำความผิดตาม
มาตรา 358 ได้กระทำต่อ
(1) เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบกสิกรรม หรือ อุตสาหกรรม
(2) ปศุสัตว์
(3) ยวดยานหรือสัตว์พาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณ หรือในการ ประกอบกสิกรรมหรืออุตสาหกรรม หรือ
(4) พืชหรือพืชผลของกสิกรผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากตารางข้างต้นสามมารถแบ่งสรุปเปรียบเทียบกราฟได้ดังนี้

สถิติการรับแจ้งคดีกลุ่มประทุษร้ายต่อทรัพย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2552

ในการรับแจ้งกลุ่มประทุษร้ายต่อทรัพย์นั้นได้มีการรับแจ้งในเรื่องของการลักทรัพย์เป็นจำนวนมากที่สุด และเรื่องการวิ่งราวทรัพย์ก็มีจำนวนไม่ต่างกันมาก ซึ่งคนร้ายส่วนใหญ่ก็มักจะลงมือทำซึ่งให้ทรัพย์มาอย่ารวดเร็ว







 
สถิติการจับคดีกลุ่มประทุษร้ายต่อทรัพย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี พ.ศ. 2552
คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์มีการรับแจ้งเรื่องทรัพย์หลายกลุ่มคดีโดยเฉพาะเรื่องของการลักทรัพย์และวิ่งราวทรัพย์มากที่สุด เจ้าหน้าที่จึงดำเนินการจับกุมทุกกลุ่มคดี
ร้อยละการรับแจ้งและจับกลุ่มคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ ปี 2552
เปอร์เซ็นของสถิติของการจับกุมจะมีน้อยกว่าการรับแจ้งนั่นหมายถึงว่าการจับกุมไม่สามารถที่จะดำเนินการได้ทั้งหมดแต่ต้องใช้ระยะเวลาของการดำเนินงาน

สรุป
ในปัจจุบันนี้สถานการณ์ของสังคมยากที่จะควบคุมเพราะมีเหตุการณ์โจรกรรม อาชญากรรมเกิดขึ้นมากมายทำให้สังคมกลายเป็นสังคมที่ไร้ระเบียบ กฎหมายมีไว้ลงโทษสำหรับคนทำผิดแต่นั่นก็ไม่สามารถที่จะระงับเหตุการณ์นั้นได้ เพราะคนทำผิดก็มีอยู่ที่ทุหนทุกแห่ง สถานการณ์แบบนี้แสดงให้เห็นถึงความเสื่อมโทรมของสังคมที่ควบคุมไม่ได้ในทุกพื้นที่ จนเกิดการลักทรัพย์ ขโมย รับของโจร ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในทุกขณะจนไม่สามารถรับรู้ได้ว่าทรัพย์ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นของเราแท้รึว่าเป็นทรัพย์ของคนอื่น
ข้อเสนอแนะ
                ในกลุ่มของคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์นั้นก็ให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาควบคุมดูแลให้เข้มงวด โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ซึ่งก็มีมาตรการในการป้องกันอยู่แล้ว เช่น ฝากบ้านไว้กับตำรวจ แต่บางครั้งก็ยังควบคุมได้ไม่ทั่วถึงจนทำให้เกิดเหตุการณ์โจรกรรมเกิดขึ้นในทุกสถานการณ์  และอีกอย่างก็คือให้ประชาชนหรือคนในชุมชนบริเวณนั้นได้ช่วยกันดูแลสอดส่อง ถ้าหากเจอเหตุการณ์ที่ผิดปกติก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ
   

***นางสาวสุภาวดี    สีทอง     กลุ่มเรียนที่ 2 
***รหัสนิสิต  52010119178     ระบบปกติ